วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ


การใช้อิฐในงานก่อสร้างในประเทศไทยนับตั้งแต่ยุคสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ซากสิ่งก่อสร้างในสมัยสุโขทัยบางส่วนมีการใช้อิฐเป็นส่วนประกอบร่วมกับ การใช้ศิลาแลง จากซากปรักหักพังของอาคาร วัดวาอาราม ในสมัยสุโขทัย พบว่าอิฐที่ผลิตในสมัย นั้นมีความคงทนมาเกือบ 1000 ปี ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก และพบว่ารูปทรงของอิฐใน สมัยสุโขทัยไม่แตกต่างไปกว่าอิฐของขอม และทวาราวดี หากแต่การนำมาใช้งานค่อนข้างแตกต่าง ไปบ้าง คือ มีการนำอิฐมาก่อเป็นองค์พระพุทธรูป เพื่อพอกปูนขาวปั้นให้เกิดเป็นรูปทรงที่งดงามอีก ทีหนึ่ง

อิฐที่ทำขึ้นในสมัยสุโขทัยนั้น มีขนาดกว้างประมาณ 13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30 เซนติเมตรซึ่งนับว่าใหญ่กว่าอิฐที่ทำกันในสมัยปัจจุบันมาก ิ

การสร้างเมืองใหม่ในสมัยอยุธยา ทำให้อิฐมีความจำเป็นมากมีการสร้างอาคาร บ้านเรือน วัด และพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ตลอดเวลา การก่อสร้างแต่ละครั้งก็จำเป็นต้องใช้อิฐเป็นจำนวน มากจึงต้องมีการเร่งทำอิฐกันอย่างรีบด่วนทำให้ความรู้ในเรื่องการทำอิฐกระจายไปในหมู่ประชาชน ทั่วไปในวงกว้าง และความรู้เหล่านั้นก็ได้ตกทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ในอดีตเกิดภาวะขาดแคลนอิฐอย่างรุนแรงเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อมีการย้ายพระ นครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากการกอบกู้อิสรภาพครั้งที่ 2 ของพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ต้องขนอิฐจากวัดเก่าแก่ที่หักพังเพราะสงครามที่จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาบรรทุกลงเรือล่องมาใช้ในการก่อสร้างพระนครใหม่

ประวัติศาสตร์ของอิฐในประเทศไทย หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงช่วงตอนสำคัญของอิฐที่ ได้เปลี่ยนบทบาทจากงานหลวงมาสู่งานราษฎร์ หรืองานที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ

ชาวมอญซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตและรับสั่งให้ตั้ง บ้านเรือน อยู่กันตามชายฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากเกร็ด ปทุมธานี เป็นชนกลุ่มแรกที่เริ่มงานทำ อิฐขึ้นแล้วนำออกมาขายตามท้องตลาด โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวนั่นเอง เล่ากันว่าดินที่ใช้ใน การทำอิฐได้มาจากใต้แม่น้ำเจ้าพระยา โดยดำลงไปงมขึ้นมาผสมกับแกลบ ซึ่งมาจากกรรมวิธีการสี ข้าวสารออกไปแล้ว จากนั้นก็นำมาตากแดดจนแห้งสนิท แล้วจึงนำไปเผาให้แข็งแกร่งบรรทุกออก เร่ขาย

ความนิยมในการก่อสร้างอาคาร บานเรือนของคนทั่วไปที่ค่อนข้างมีฐานะร่ำรวย ด้วยการ ก่ออิฐถือปูนทำให้อิฐซึ่งออกเร่ขายโดยชาวมอญเป็นที่รู้จักแพร่หลายกว้างไกลออกไปด้วย พร้อมกับ คำว่า อิฐมอญ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายว่า อิฐที่ขายและทำโดยคนมอญ ก็นิยมติดปากควบคู่กันไป ทำให้เกิดความเข้าใจในหมู่ประชาชนว่าอิฐไทยหรืออิฐที่ทำด้วยดินแกลบ แล้วนำไปเผาไฟนี้มีชื่อ ว่าอิฐมอญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น